Article

Sparsha

รับมือ สภาวะ “ความเครียด”

จากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในปัจจุบัน ทำให้ประชาชนหลากหลายอาชีพ หลากหลายกลุ่ม ตกอยู่ในสภาวะความเครียด และเกิดความกังวลว่าจะติดเชื้อไวรัสหรือไม่ แม้กระทั่งความไม่แน่นอนของสภาพทางเศรษฐกิจเองก็ตาม สิ่งเหล่านี้ จึงเป็นสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลส่งผลต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิต จนทำให้เกิดภาวะความเครียดสะสมได้

ความเครียด คือสภาวะหนึ่ง ที่เกิดขึ้นได้หลังจากได้รับความกดดันส่งผลกระทบต่อจิตใจ ไม่สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม จนก่อให้เกิดความบกพร่องทางด้านการงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน โดยอาการของความเครียดนี้มีหลายแบบ อย่างเช่น มีความวิตกกังวล, หงุดหงิด, เศร้า หรืออาจจะมีอาการทางกาย อาทิเช่น ปวดศีรษะ, เวียนศีรษะ, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ บางรายอาจมีอาการนอนไม่หลับ, คลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย อาการเหล่านี้สามารถอยู่ได้เป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน แต่หากปัจจัยภาวะความกดดันหมดไป อาการนี้ก็จะหมดไปด้วยค่ะ

ซึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด อาจเกิดจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสระลอกใหม่, การทำงาน, เพื่อนร่วมงาน, คนในครอบครัว, เศรษฐกิจ หรือปัญหาอื่นๆ โดยความเครียดเป็นเหมือนสัญญาณเตือนภัย ที่ทำให้เราต้องเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น หากสัญญาณเตือนภัยนี้ทำงานมากเกินไป ก็จะทำให้เราเกิดความวิตกกังวล จนก่อให้เกิดโรคเครียดได้ค่ะ

ดังนั้นแอดมินจึงมีแนวทางในการดูแลสุขภาพกาย และสุขภาพจิต พร้อมแนวทางในการปฏิบัติตนเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมาฝากกันค่ะ

  1. ดูแลรักษาสุขภาพกาย และจิตใจในช่วงเวลานี้ให้เป็นปกติ พักผ่อนให้เพียงพอ, ทานอาหารที่มีประโยชน์ถูกสุขอนามัย, หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และสารเสพติด
  2. ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สาธารณะสุข ป้องกันตัวเองอย่างเคร่งครัด
  3. เลือกรับข่าวสารจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ เช่น หน่วยงานทางด้านสาธารณะสุข, องค์กรอนามัยโลก, หรือคำแนะนำจากแพทย์ เป็นต้น
  4. ติดตามข่าวสารเท่าที่จำเป็น และรับสื่ออย่างมีสติ ลดการฟัง การดู หรือการอ่านข่าวสารที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล
  5. อย่าขาดการติดต่อจากผู้อื่น เพื่อไม่ทำให้ตัวเองรู้สึกโดดเดี่ยว อ้างว้าง โทรศัพท์พูดคุย VDO Call หรือคุยแชท เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แบ่งปันข่าวสารซึ่งกันและกัน
  6. หากิจกรรมทำ เพื่อผ่อนคลายความเครียด เช่น อ่านนิยาย, ฟังเพลง, ดูหนัง, ฝึกสมาธิ เป็นต้น
  7. ออกไปรับแสงแดดอย่างเหมาะสม เพื่อรักษาระดับวิตามินให้อยู่ในระดับปกติ เพราะแสงแดดมีผลต่อฮอร์โมน และวิตามินดีในร่างกาย ที่มีผลเกี่ยวข้องกับภาวะความเครียด ซึมเศร้า ดังนั้นควรได้รับแสงแดดในช่วงเช้า ก่อน 09.00 น. อย่างน้อย 5 -15 นาที หรือช่วงเย็น 16.00 น. เพื่อปรับให้ร่างกายมีระดับฮอร์โมน และวิตามินที่เหมาะสม เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้

ทั้งหมดคือแนวปฏิบัติในการรับมือกับความเครียด ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการวิตกกังวล และช่วยให้สุขภาพกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานทั้งร่างกาย และจิตใจ เพื่อพร้อมสำหรับการ “รับมือ” กับสถานการณ์โรคระบาด ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ และเพื่อให้เราผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกันนะคะ

Related Posts

ข้อห้ามหลังฉีดฟิลเลอร์ ควรปฏิบัติในการดูแลตัวเองอย่างไร?

หลังฉีดฟิลเลอร์ มีข้อห้าม-ข้อควรปฏิบัติในการดูแลตัวเองอย่างไร? เพื่อผลลัพธ์ที่ดี การฉีดฟิลเลอร์ (Filler) เป็นหัตถการที่จะช่วยลดริ้วรอย เติมเต็มร่องลึกบนใบหน้า โ

อ่านเพิ่มเติม
แจกสูตร “ผิวสวย” ด้วยการเติมวิตามินผิว IV Drip

แจกสูตร “ผิวสวย” ด้วยการเติมวิตามินผิว IV Drip ปรับผิวไบร์ทแบบฉบับผิวลูกคุณ

ใครๆ ก็อยากมี “ผิวสวย ผิวไบร์ท ผิวสุขภาพดี มีออร่า” เพราะการมีผิวพรรณที่เปล่งปลั่ง ผิวกระจ่างใสดูสุขภาพดีนี้จะช่วยเพิ่มเสน่ห์ให้น่าดึงดูด และช่วยเพิ่มความมั่นใจ

อ่านเพิ่มเติม
ลดสัดส่วน sparsha thailand

ควรทำอย่างไร เมื่อสัดส่วนหายแต่น้ำหนักไม่ลดตาม ?

ลดสัดส่วนอย่างอดทนมาก็นาน ทั้งออกกำลังกาย กินอาหารสุขภาพ นอนหลับอย่างเพียงพอ แต่พอสัดส่วนหาย หุ่นเริ่มเปลี่ยนดั่งใจ น้ำหนักกลับไม่ลดตาม สิ่งเหล่านี้อาจทำให้หลาย

อ่านเพิ่มเติม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า