Article

Sparsha

เช็คลิสต์ อาการแบบนี้ “ออฟฟิศซินโดรม” หรือไม่

อาการแบบนี้ “ออฟฟิศซินโดรม” หรือไม่? ปวดคอ บ่า ไหล่ แก้ได้ด้วยโปรแกรมฉีดโบท็อกซ์ Office Syndrome

“ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)” เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน โดยเฉพาะในกลุ่มพนักงานออฟฟิศ เนื่องจากอาการของออฟฟิศซินโดรมมักเกิดจากการนั่งทำงานในออฟฟิศเป็นเวลานานๆ หรือนั่งอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม ทำให้รู้สึกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณคอ บ่า ไหล่ หลัง และข้อมือ ซึ่งหลายคนก็อาจจะมองข้ามคิดว่าเป็นเพียงอาการเมื่อยล้าจากการทำงานเท่านั้น แต่หากปล่อยไว้นานก็อาจเกิดเป็นเรื้อรังมากขึ้น หรืออาจเกิดเป็นโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่รุนแรงขึ้นตามมาได้ รวมทั้งอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันได้เช่นกัน

ดังนั้น อย่างปล่อยให้ Office Syndrome เป็นภัยเงียบที่คุกคามพนักงานออฟฟิศ ใครที่กำลังประสบปัญหาปวดเมื่อยกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ มีอาการออฟฟิศซินโดรม สปาชาขอแนะนำ โปรแกรมฉีดโบท็อกซ์ออฟฟิศซินโดรม ตัวช่วยบรรเทาหรือรักษาอาการปวดจากโรคออฟฟิศซินโดรม เพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว

ออฟฟิศซินโดรม (OFFICE SYNDROME) โรคยอดฮิตของคนทำงานที่ต้องระวัง

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด ที่มาจากการใช้งานของกล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานาน จากพฤติกรรมต่างๆ เช่น การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ โดยไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถ ไม่ขยับ ไม่เปลี่ยนท่าทาง ส่งผลทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบและเกิดอาการปวดสะสมจนในที่สุดกลายเป็นปวดเรื้อรังได้ โดยเฉพาะบริเวณคอ บ่า ไหล่ หลัง หรือบางรายอาจพบอาการชาบริเวณปลายนิ้วมือ มือ และแขนร่วมด้วย เนื่องจากเกิดจากการที่เส้นประสาทส่วนปลายในแต่ละตำแหน่งถูกกดทับนานและกดทับอย่างต่อเนื่อง

ออฟฟิศซินโดรม เกิดจากอะไร?

  • นั่งทำงานท่าเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานาน
  • นั่งทำงานในท่าทางที่ไม่เหมาะสม เช่น นั่งหลังค่อม นั่งไหล่ห่อ หรือนั่งเก้าอี้ที่ไม่รองรับสรีระ
  • การยกของหนักบ่อยๆ
  • ความเครียดจากการทำงาน การพักผ่อนไม่เพียงพอ

เช็คลิสต์! 6 สัญญาณเตือน อาการของออฟฟิศซินโดรม

  1. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณคอ บ่า ไหล่ สะบัก หลัง เมื่อนั่งทำงานท่าใดท่าหนึ่งซ้ำๆ เป็นเวลานาน
  2. ปวดหัวเรื้อรัง ปวดหัวบ่อย เป็นอาการที่เกิดขึ้นมากกว่า 15 วัน/เดือน มักมีสาเหตุมาจากความเครียดหรือการที่ใช้สายตาเป็นระยะเวลานานร่วมด้วย
  3. ปวดตา สายตาพร่ามัว เกิดจากการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ หรือใช้สายตาอย่างหนักเป็นเวลานาน
  4. ชาบริเวณนิ้วและมือ หรือนิ้วล็อค ปวดข้อมือ จากการใช้คอมพิวเตอร์หรือจับเมาส์ในท่าเดิมๆ นาน จนทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทและเส้นเอ็นจนอักเสบ
  5. ปวดตึงบริเวณขา หรือมีอาการเหน็บชาบ่อย ขาไม่มีแรง เกิดจากการนั่งนานๆ ทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับและส่งผลให้เลือดไหลเวียนผิดปกติ
  6. อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ หรือนอนหลับไม่สนิท ซึ่งมักจะเกิดจากความเครียดหรือจากอาการปวดที่มารบกวนเวลานอนเป็นระยะๆ

รักษา Office Syndrome ด้วย โปรแกรมฉีดโบท็อกซ์ออฟฟิศซินโดรม

โปรแกรมฉีดโบท็อกซ์ คอ บ่า ไหล่ เป็นการใช้สาร “โบทูลินัม ท็อกซิน” (Botulinum toxin) มาช่วยลดอาการปวดเมื่อยเรื้อรัง เมื่อฉีดเข้าไปในกล้ามเนื้อแล้วจะออกฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว อ่อนแรงลง และขยับได้น้อยลงชั่วคราว จึงช่วยบรรเทาอาการปวดออฟฟิศซินโดรม ปวดตึง ไหล่ยึด ลดอาการปวดเมื่อย และแก้ปัญหากล้ามเนื้อหดเกร็งได้เป็นอย่างดี

โปรแกรมฉีดโบท็อกซ์ ช่วยรักษาออฟฟิศซินโดรมอย่างไรบ้าง? 

  • กล้ามเนื้อคอ สามารถฉีดเข้าไปในกล้ามเนื้อคอ เพื่อช่วยคลายความตึงและลดอาการปวดคอ ช่วยปรับช่วงคอให้ดูเรียวระหงขึ้น
  • กล้ามเนื้อไหล่ จะช่วยลดอาการปวดไหล่และป้องกันการเกิดปมกล้ามเนื้อ พร้อมช่วยปรับทรงไหล่ให้สวยขึ้น แก้ไหล่ห่อ ไหล่ติด
  • กล้ามเนื้อหลัง ช่วยคลายความตึงและลดอาการปวดหลัง

ข้อดีของโปรแกรมฉีดโบท็อกซ์ออฟฟิศซินโดรม คอ บ่า ไหล่

  • ช่วยลดอาการปวดออฟฟิศซินโดรมได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยลดขนาดบ่าให้เล็กลง คอดูเรียวยาวขึ้น
  • รู้สึกได้ทันทีหลังฉีด และอาการปวดเมื่อยจะค่อยๆ ดีขึ้น
  • ไม่ต้องพักฟื้น สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
  • ขั้นตอนการรักษาไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาไม่นาน

โปรแกรมฉีด Botox Office Syndrome อยู่ได้นานไหม?

โดยทั่วไปหลังเข้ารับบริการโปรแกรมฉีดโบท็อกซ์ออฟฟิศซินโดรม คอ บ่า ไหล่ ผลลัพธ์จะอยู่ได้นานประมาณ 4-6 เดือน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับระดับอาการรุนแรงและสภาพร่างกายของผู้เข้ารับบริการแต่ละบุคคล รวมทั้งการดูแลตัวเองหลังทำ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปรับท่าทางการนั่ง หรือลดการใช้งานกล้ามเนื้อมัดนั้นบ่อยๆ ก็จะช่วยให้ผลลัพธ์อยู่ได้นานขึ้น ทั้งนี้สามารถกลับมาฉีดซ้ำได้ โดยเว้นระยะห่างประมาณ 3-6 เดือน

การป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม

  • ปรับท่าทางการทำงานให้เหมาะสม โดยนั่งหลังตรง ไหล่ผ่อนคลาย และเท้าวางราบกับพื้น
  • ใช้เก้าอี้ที่รองรับสรีระ และปรับความสูงของเก้าอี้ให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
  • ใช้เมาส์และคีย์บอร์ดที่เหมาะสม รวมทั้งวางในตำแหน่งที่สะดวก
  • ควรพักสายตาเป็นระยะๆ โดยมองออกไปไกลๆ ทุกๆ 20 นาที
  • ลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายเป็นประจำ ทุกๆ 30 นาที ไม่นั่งท่าเดิมเป็นเวลานาน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและความยืดหยุ่นของร่างกาย
  • จัดการกับความเครียด โดยหาเวลาพักผ่อนและทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย

ข้อควรระวังในการทำโปรแกรมฉีดโบท็อกซ์ออฟฟิศซินโดรม

  • ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
  • ผู้ที่มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรงรุนแรง
  • ผู้ที่มีปัญหาแพ้สารโบทูลินัม ท็อกซิน
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคทางเดินระบบหายใจ
  • ผู้ที่มีภาวะเลือดหยุดยาก

สรุป

โปรแกรมฉีดโบท็อกซ์ออฟฟิศซินโดรม เป็นวิธีที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ และออฟฟิศซินโดรมได้เป็นอย่างดีและตรงจุด แต่อย่างไรก็ตามแนวทางที่จะช่วยป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรมได้ดีที่สุด ก็คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง และควรหมั่นยืดเหยียดบริหารกล้ามเนื้อบ้าง แต่สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาปวดเมื่อยกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ นวดผ่อนคลายก็ไม่หาย ก็สามารถเข้ามาปรึกษากับทาง SparSha ได้ทุกสาขา เพื่อให้คุณหมอช่วยแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลค่ะ

Related Posts

เลเซอร์กำจัดขนน้องสาว ให้หมดจดแบบมือโปร

หมดกังวลขนน้องรุงรัง! แชร์ทริคกำจัดขนน้องสาวให้หมดจดแบบมือโปร

วันนี้เราจะพามารู้จักกับตัวช่วยสุดปังอย่าง Diode Plus Laser เลเซอร์กำจัดขนน้องสาว แต่วิธีกำจัดขนน้องสาวด้วยการเลเซอร์นี้จะเวิร์คไหม

อ่านเพิ่มเติม
เลเซอร์ขนบิกินี่

มั่นใจทุกสายตา! เคล็ดลับเลือกบิกินี่ให้เข้ากับรูปร่าง พร้อมโชว์ผิวสวยไร้กังวลเรื่องขนโผล่

การเลือกเลเซอร์ขนบิกินี่ที่ SparSha ของเราจะใช้เทคโนโลยี Diode Plus Laser ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่จะช่วยกำจัดขนน้องสาวได้เป็นอย่างดี

อ่านเพิ่มเติม
เปิดวิธีลดเซลลูไลท์ต้นขาแบบฉับไวที่ใครก็ทำได้

จบปัญหาผิวเปลือกส้ม! เปิดวิธีลดเซลลูไลท์ต้นขาแบบฉับไวที่ใครก็ทำได้

วันนี้เรามีตัวช่วยเด็ดที่จะช่วยคุณกำจัดเซลลูไลท์ ใครที่อยากขาเนียนสวย ไร้ผิวแตกลาย หรือผิวเปลือกส้ม ต้องลองโปรแกรม Leg Squeezing ที่สปาชา ตัวช่วยลดเซลลูไลท์

อ่านเพิ่มเติม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า