Article

Sparsha

เคยสงสัยกันไหมว่า ลักษณะพุงแต่ละแบบมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นพุงกลมๆ ที่ยื่นออกมาจนเด่นชัด หรือพุงที่เป็นชั้นๆ หรือมีพุงป่องแค่หน้าท้องช่วงล่าง รวมทั้งบางคนมีรูปร่างผอมแต่ก็มีหน้าท้องป่องหรือพุงยื่นออกมาจนทำให้ขาดความมั่นใจ ดังนั้น หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่สงสัยว่า ลักษณะพุงแบบนี้เรียกว่าอะไร? เกิดจากสาเหตุอะไร สปาชาจะพาทุกท่านไปเช็กสุขภาพพุงกัน รวมไปถึงแนะนำวิธีลดพุงแต่ละแบบให้ตรงจุดด้วย จะมีวิธีอะไรบ้างตามไปอ่านกันได้เลย

ทำความรู้จัก “พุง” คืออะไร?

พุง (Belly หรือ Tummy) คือ การสะสมไขมันในช่องหรืออวัยวะบริเวณหน้าท้องมากจนเกินไป ซึ่งจะทำให้หน้าท้องมีลักษณะป่องหรือยื่นออกมาอย่างชัดเจน หรือผิวหนังมีความหย่อนคล้อยออกมาตามแรงโน้มถ่วงของโลก โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากการรับประทานอาหารในชีวิตประจำวัน การไม่ออกกำลังกาย การนั่งเป็นเวลานานๆ ไม่ได้ขยับ รวมทั้งคุณแม่หลังคลอด ก็มักจะเจอกับปัญหาเกี่ยวกับพุงได้ และจะส่งผลต่อรูปร่างและความไม่มั่นใจเป็นอย่างมาก

ลักษณะพุง มีกี่แบบ?

ลักษณะพุงหรือหน้าท้องของแต่ละคนที่ยื่นออกมาจะมีลักษณะที่ไม่เหมือนกัน โดยสามารถแบ่งลักษณะพุงออกได้หลายแบบตามสาเหตุการเกิดพุง ซึ่งมีดังต่อไปนี้

พุงกลม (Alcohol Belly)
  • ลักษณะ: มีลักษณะพุงเป็นพุงกลมมน และยื่นออกมาอย่างเห็นได้ชัด
  • สาเหตุ: เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ซึ่งแอลกอออล์เป็นเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและแคลอรีสูง มีผลต่อระบบการย่อยอาหาร ทำให้เกิดอาการท้องอืด กระเพราะอาหารย่อยได้ยาก จนทำให้มีพุงป่องออกมา รวมทั้งทำให้ระบบเผาผลาญทำงานได้ไม่ดี จึงเกิดการสะสมไขมันในผิวได้ง่ายขึ้น
  • วิธีการลด: เริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการงดดื่มแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง แล้วเน้นรับประทานผักและผลไม้ เพื่อให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น และหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยกระตุ้นการเผาผลาญไขมันและเสริมสร้างกล้ามเนื้อหน้าท้องได้อีกด้วย
พุงหมาน้อย หรือพุงป่องช่วงล่าง (Hormonal Belly)
  • ลักษณะ: เป็นพุงที่มีลักษณะพุงด้านล่างห้อยลงมา แต่พุงด้านบนเรียบปกติ
  • สาเหตุ: เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง หรืออาหารที่มีรสหวานมากเกินไป เช่น อาหารประเภทข้าว ขนมปัง หรือของทอดของมัน รวมทั้งผู้ที่ไม่ชอบออกกำลังกาย และพนักงานออฟฟิศที่นั่งทำงานทั้งวัน ไม่ค่อยขยับร่างกาย
  • วิธีการลด: เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เพื่อช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น และลดการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต รวมถึงออกกำลังกายให้มากขึ้น หรือลุกขึ้นเดินในระหว่างนั่งทำงานด้วย
พุงป่อง (Bloated Belly)
  • ลักษณะ: พุงป่องจะมีลักษณะพุงคล้ายกันกับพุงกลม แต่พุงจะแบนในตอนเช้า และจะมีพุงป่องในช่วงกลางวัน หรือเกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหาร
  • สาเหตุ: เกิดจากการรับประทานอาหารที่ย่อยยาก ทำให้มีแก๊สในกระเพาะอาหารมาก จนทำให้เกิดอาการท้องอืด แล้วเกิดเป็นอาการพุงป่องตามมานั่นเอง
  • วิธีการลด: ปรับเปลี่ยนวิธีการรับประทานอาหาร โดยให้รับประทานอาหารที่มีกากใยมากขึ้น และดื่มน้ำเปล่ามากๆ เพื่อช่วยให้ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายทำงานได้ดียิ่งขึ้น และแนะนำให้ดื่มน้ำก่อนรับประทานอาหารจะช่วยลดแก๊สในกระเพาะอาหารได้ดี รวมทั้งควรงดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล งดมื้อดึก และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
พุงเครียด (Stressed Belly)
  • ลักษณะ: มีลักษณะพุงเป็นชั้นๆ หน้าท้องบวมอืดและยื่นออกมาระหว่างสะดือและกระบังลม หรือที่เรียกอีกอย่างว่า “พุงเป็นชั้น” ซึ่งบางคนอาจมีจำนวน 2 ชั้น หรือ 3 ชั้น ไม่เท่ากัน
  • สาเหตุ: เกิดจากความเครียดและการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ซึ่งจะส่งต่อการหลั่งฮอร์โมนที่ควบคุมระบบเผาผลาญในร่างกาย ทำให้การเผาผลาญไขมันลดลง รวมทั้งลักษณะพุงเครียดนี้เกิดจากการรับประทานอาหารประเภท Junk Food และการดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไปด้วยเช่นกัน
  • วิธีการลด: ปรับเรื่องของความเครียด หรือสภาพจิตใจ โดยหากิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ตรงเวลา และลดการดื่มคาเฟอีนลง รวมทั้งเพิ่มการออกกำลังกายเบาๆ เช่น โยคะ พิลาทีส ก็จะช่วยเพิ่มการทำงานของระบบเผาผลาญและยังช่วยลดความเครียดได้ดีอีกด้วย
พุงคุณแม่ (Mommy Belly)
  • ลักษณะ: เป็นลักษณะพุงที่ห้อย และพุงยื่นๆ ออกมาเล็กน้อย
  • สาเหตุ: เกิดจากมดลูกยังไม่เข้าอู่ เพราะช่วงที่ตั้งครรภ์มดลูกจะมีการขยายตัว แล้วเมื่อคลอดบุตรออกมาแล้ว แต่มดลูกยังไม่เกิดการหดตัวเข้าที่เดิม
  • วิธีการลด: ร่างกายเริ่มกลับเข้าสู่สภาพปกติโดยจะใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์ โดยช่วงนี้ไม่ควรหักโหมในการออกกำลังกายมากจนเกินไป แนะนำให้เน้นรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรงหลังคลอด และลดอาหารกลุ่มแป้งน้ำตาล เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมของไขมันขึ้นได้

มาเช็กกัน! เราเริ่มเข้าสู่ภาวะ “อ้วนลงพุง” หรือยัง?

ถ้าอยากรู้ว่าเราจะเริ่มเข้าสู่ภาวะ “อ้วนลงพุง” หรือยัง และน้ำหนักตัวของเราอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ สามารถเช็คตัวเราเองได้ง่ายๆ โดยการคำนวณได้ด้วยค่าดัชนีมวลกาย BMI ดังนี้

การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย BMI

“ดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ÷ ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลัง 2”

การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย BMI “ดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ÷ ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลัง 2”

องค์การอนามัยโลกได้กำหนดการแปลผลค่า BMI ได้ดังนี้

  • ค่า BMI น้อยกว่า 18.5  แสดงถึง อยู่ในเกณฑ์น้ำหนักน้อยหรือผอมกว่าปกติ เสี่ยงต่อภาวะได้รับสารอาหารไม่พอ
  • ค่า BMI 18.50-24.90 แสดงถึง อยู่ในเกณฑ์ปกติ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเท่าคนปกติ
  • ค่า BMI 25.00-29.90 แสดงถึง อยู่ในเกณฑ์น้ำหนักตัวเกิน มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากกว่าคนปกติ      
  • ค่า BMI 30 ขึ้นไป แสดงถึง อยู่ในเกณฑ์จัดว่าเป็นโรคอ้วน มีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, เบาหวาน, หลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย BMI มีข้อจำกัดสำหรับบางกลุ่มที่ไม่สามารถคำนวณได้ เช่น นักเพาะกาย สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคตับหรือโรคไตที่มีภาวะบวมน้ำ และเด็กวัยกำลังเจริญเติบโต เป็นต้น

นอกจากนี้ การวัดว่าอ้วนหรือผอม ยังสามารถคำนวณด้วยสูตรการวัดเส้นรอบเอวได้ โดยการนำค่าส่วนสูง (หน่วยเป็นเซนติเมตร) หารด้วย 2 จะเท่ากับตัวเลขรอบเอวที่ไม่ควรเกินจากค่านั้น ซึ่งการวัดรอบเอวแนะนำให้วัดที่ระดับจุดกึ่งกลางใต้ชายโครงและเหนือกระดูกสะโพก

ตัวอย่างการคำนวณ เช่น ส่วนสูง 160 (ซม.) หารด้วย 2 = 80 ซม. แปลว่าหากเราสูง 160 เซนติเมตร รอบเอวของเราไม่ควรเกิน 80 ซม. นั่นเอง

แนวทางป้องกันการเกิดพุง ต้องดูแลตัวเองอย่างไรบ้าง?

  • ลดการทานอาหารพวกของทอด ของมัน แป้ง อาหารที่มีน้ำตาลและแคลอรีสูง รวมไปถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน
  • เลือกรับประทานผักและผลไม้ที่มีไฟเบอร์และใยอาหารสูง เช่น ผักใบเขียว ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ พืชตระกูลถั่ว เพื่อช่วยให้ระบบขับถ่ายของร่างกายดีขึ้น
  • หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อช่วยให้ระบบการเผาผลาญไขมันทำงานได้ดีขึ้น รวมทั้งช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงขึ้นด้วย
  • ดื่มน้ำก่อนรับประทานอาหารจะช่วยให้รู้สึกอิ่มท้อง และลดการรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นอีกด้วย
  • ขยับร่างกายระหว่างวัน หรือการยืดเส้นยืดสายเมื่อต้องนั่งเป็นเวลานานๆ ช่วยเพิ่มการเผาผลาญแคลอรีได้ 
  • พักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยให้การทำงานของระบบเผาผลาญทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

วิธีลดพุงแบบเร่งด่วน ที่ SparSha มีอะไรบ้าง?

ลดพุง ลดหน้าท้อง ด้วยหัตถการทางการแพทย์โปรแกรมสลายไขมันที่สปาชา มีดังนี้

  • Freeze Shaping
    โปรแกรมสลายไขมันด้วยความเย็น พร้อมกระชับสัดส่วน ด้วยการใช้หลักการส่งผ่านความเย็นระดับจุดเยือกแข็ง -5 ถึง -9 องศาเซลเซียส เข้าสู่ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ทำให้เซลล์ไขมันแข็งตัวและตายลง แล้วขับออกจากร่างกายตามธรรมชาติ ทำให้ผิวเนียนเรียบและกระชับขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
  • Belly Burn
    โปรแกรมกระชับหน้าท้อง ตีไขมันแตกกระจายด้วยแรงสั่นสะเทือนบนผิวหนัง โดยใช้นวัตกรรม Electronic Massage นวดสลายถึงไขมันชั้นลึกทั้ง 3 ชั้น ทำให้ไขมันแตกกระจายแล้วถูกเผาผลาญและขับออกจากร่างกาย ทำให้สัดส่วนลดลง พร้อมชะลอการสะสมไขมันใหม่
  • HIIT FIRM
    โปรแกรมเผาผลาญไขมันและเสริมสร้างกล้ามเนื้อ Six Pack แก้ปัญหาบริเวณที่มีไขมันมากแต่กล้ามเนื้อน้อยให้หุ่นเฟิร์มขึ้น โดยใช้คลื่น Infrared พลังงานความร้อน และ Micro Current คลื่นกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อนผสานกัน เข้าไปยังชั้นไขมันระดับลึก ทำให้ลดไขมันใต้ผิวหนังและกระชับกล้ามเนื้อที่หย่อนคล้อย
  • Body Contouring
    โปรแกรมสลายไขมันครบทุกส่วนในคราวเดียว 1 คอร์สได้ถึง 5 เบิร์นไขมันทั่วร่างกายเฟิร์มทุกจุดเสมือนไปฟิตเนส โดยผสานการทำงานทั้ง 5 โปรแกรม ได้แก่ 1. ปรึกษาแพทย์ตัวต่อตัว 2. ลดไขมันสะสมด้วย Circular Mechanics 3. เสริมสร้างกล้ามเนื้อด้วย Hiit Firm 4. ลดเซลลูไลท์ Leg Squeezing และ 5. จัดกรอบรูปร่างด้วย Contouring Wrap ลิขสิทธิ์เฉพาะที่ SparSha ช่วยให้รูปร่างให้กระชับยิ่งขึ้น

อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่าปัญหาพุงสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน และมีลักษณะพุงที่แตกต่างกันออกไปด้วย แต่ไม่ว่าคุณจะมีพุงแบบไหน ก็ไม่ต้องกังวลไป สามารถเข้ามาปรึกษากับเราได้ที่ SparSha โดยเราจะมีแพทย์คอยให้คำปรึกษาและวางแผนวิธีการลดพุงที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลมากที่สุดค่ะ

Related Posts

จบปัญหาปัสสาวะเล็ด แก้อุ้งเชิงกรานหย่อน

จบปัญหาปัสสาวะเล็ด แก้อุ้งเชิงกรานหย่อน แค่นั่ง “เก้าอี้ขมิบ” ตัวช่วยฟิต กระชับ

กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน คือ กล้ามเนื้อที่ควบคุมการกลั้นปัสสาวะ อุจจาระ และกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการคลอดบุตร ซึ่งการตั้งครรภ์ การคลอดบุตร

อ่านเพิ่มเติม
ไขมันดี ไขมันส่วนเกิน

รู้ก่อนลด ไขมันดี VS ไขมันเลว ต่างกันอย่างไร

การมีไขมันสะสมในร่างกายมากจะส่งผลต่อเรื่องน้ำหนักเกินและรูปร่าง รวมทั้งอาจทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา แต่ความจริงแล้วไขมันเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย

อ่านเพิ่มเติม
ฉีดโบท็อกซ์บ่อยแล้วจะดื้อโบจริงไหม

เช็กด่วน! ฉีดโบอย่างไรไม่ให้ดื้อโบท็อกซ์

ดื้อโบท็อกซ์ เป็นภาวะที่เมื่อเราฉีดโบท็อกซ์เข้าไปแล้วไม่เห็นผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงเท่าที่ควร หรือไม่เห็นผลเลย ซึ่งเกิดจากร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อสารโบทูลินัมท็อกซิน (Botulinum toxin)

อ่านเพิ่มเติม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า